พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี ซึ่งตามกำหนดการเดิมจะมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป แต่ด้วยสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานและกิจการต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากทั่วประเทศยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
จึงได้มีราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา เลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 ออกไปก่อนจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2565 เหตุมีผลกระทบจากโควิด กฎหมายมีรายละเอียดซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีบทลงโทษทั้งคามรับผิดทางแพ่งและโทษทางปกครองและอาญา ค่อนข้างแรง
โดย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้กับ
บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นี้เรียกว่า ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)
แต่เนื่องจากยังไม่มีหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ชัดเจนอย่างเป็นทางการออกมาถึงวิธีการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้มีคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องให้ยึดหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำมาปรับและประยุต์ใช้ในระหว่างรอหลักเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ISO/IEC 27701:2019, The COBIT Framwork, ISACA Privacy Principles และรวมไปถึง NIST Privacy Framwork ด้วยเช่นเดียวกัน
บริษัทซังฟอร์ เทคโนโลยี (Sangfor Technologies) มีความยินดีที่จะนำเสนอวิธีการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตามแนวทางหรือกรอบปฏิบัติตามมาตรฐาน NIST Privacy Framework ซึ่งได้มีการร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนจัดทำเครื่องมือที่ทรงพลังนี้ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงการจัดระเบียบและปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรควบคู่กันไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยกรอบหลักการและการทำงานของ NIST Privacy Framework จะแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 2 ด้าน คือความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Risks) และความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy Risks) โดยความเสี่ยงทั้ง 2 ด้านนี้มีจุดร่วมตรงกลางเรียกว่า ความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวหรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มาเกี่ยวข้อง (Privacy Breach Risks)
ซึ่งโดยรวมแล้ว NIST Privacy Framework จะประกอบด้วย 5 ฟังก์ชันหลัก โดยอยู่ใน Privacy Risks จำนวน 4 ฟังก์ชัน (IDENTIFY-P, GOVERN-P, CONTROL-P และ COMUNICATION-P) และอยู่ใน Privacy Breach Risks อีก 1 ฟังก์ชัน (PROTECT-P) โดยจะมีการทำงานร่วมกับฟังก์ชั่น DETECT, RESPOND, และ RECOVERY ตามกรอบหลักการและการทำงานของ NIST Cybersecurity Framework อีกด้วย โดยแนะนำให้ใช้ทั้ง 2 Framework ร่วมกันเพื่อจัดการและป้องกันความเสี่ยงทั้งในส่วนของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy)
Identify: การระบุความเสี่ยงภายในองค์กรเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการความเสี่ยง
Protect: การวางกรอบหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันระบบขององค์กร
Detect: การวางกรอบหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในองค์กร
Respond: การวางกรอบหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองกับเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในองค์กร
Recovery: การวางกรอบหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อฟื้นฟูหรือกู้คืนระบบขององค์กรให้กลับมาทำงานได้เป็นปรกติ
ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นจากทางบริษัทซังฟอร์ เทคโนโลยี (Sangfor Technologies) เพื่อนำมาใช้ในการตอบโจทย์เพื่อเตรียมความพร้อมให้องค์กรให้สามารถปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ด้วยกรอบการทำงานมาตรฐาน ด้วย NIST Privacy Framwork และ NIST Cybersecurity Framework มีให้เลือกใช้งานดังนี้
Basic package:• NGAF (with PX and Neural-X)• Endpoint Secure
Standard package:• NGAF (with PX and Neural-X)• Endpoint Secure• IAG• HCI
Advanced package:• NGAF (with PX and Neural-X)• Endpoint Secure• IAG• Cyber Command• HCI• IR Service
ข้อมูลเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง